ศิลปะกับการบําบัดผู้ป่วย

การแพร่หลายของศิลปะบําบัด ในโลกยังมีไม่มากเท่าที่ควร โดยจะพบมากที่สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สำหรับในด้านเอเซีย จะพบได้ที่ญี่ปุ่นและเกาหลี ทั้งนี้การแพร่หลายในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยตรงและนักศิลปะบําบัด เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญที่จบโดยตรงยังมีน้อยมาก ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีโรงพยาบาลบางแห่งได้มีการนําดนตรีมาใช้ในการขับกล่อมผู้ป่วยและญาติ ในระหว่างรอตรวจหรือรอรับยาเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งมีทั้งรูปแบบการเปิดเทปและการแสดงสดของนักดนตรี ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดีและในอนาคตจะพัฒนาไปสู่การนําไปใช้เพื่อการบําบัด เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด ช่วยลดการใช้ยาระงับปวดลงด้วย ในปัจจุบันศิลปะบําบัด มีการนํามาใช้ในกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มบกพร่องทางพัฒนาการ สติปัญญา ออทิสติกและในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ พฤติกรรมต่างๆ เนื่องจากสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ บรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านศิลปะบําบัด เพื่อสร้างนักวิชาชีพด้านศิลปะบําบัดที่มีคุณภาพและเพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยได้ด้วย

ผลดีของการนำศิลปะบำบัดมาใช้กับการรักษา ประกอบไปด้วย

– การวาดภาพทำให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นซึ่งก่อให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ

– สามารถนำมาใช้เพื่อนำเข้าสู่เป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้

– เพิ่มการแสดงออกด้วยการวาดภาพและการใช้คำพูดร่วมกัน

– สามารถนำเอาภาพวาดมาเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารภายในกลุ่ม

– ผลิตผลเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มคุณค่าแห่งตน

– ให้โครงสร้างกับกลุ่มในลักษณะที่เป็นรูปธรรมได้ง่าย

– การแสดงออกของความคิด ความรู้สึกอย่างเป็นธรรมชาติ

– ผู้เข้าร่วมกลุ่มรู้สึกลดภาวะของการถูกคุกคามลงไปได้มาก

นอกจากนี้ ยังมีการผ่อนคลายความเครียดด้วยศิลปะและเสียงเพลง โดยนําไปใช้กับงานศัลยกรรมออร์โทพีดิกส์ ซึ่งคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน นักวิจัยได้ให้คนไข้ฟังเพลงและแขวนรูปภาพสวยๆ ไว้บนผนัง โดยสับเปลี่ยนรูปภาพเสมอ  เนื่องจากช่วยลดความปวดได้น้อยลง และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลงด้วย